สายตาสั้น อยากดำ scuba ต้องทำยังไง


โดยทั่วไปคนสายตาสั้น ดำ scuba จะหาทางออกด้วยวิธีการเหล่านี้ คือ
1.ใส่ contact lens แล้วครอบด้วยหน้ากาก scuba ต้องบอกว่าไม่แนะนำ
เพราะ เสี่ยงติดเชื้อจากแบคทีเรีย และเชื้ออย่างอื่นในแหล่งน้ำ ธรรมชาติ เพราะแรงกดใต้น้ำ จะช่วยเร่งการเสียดสีให้อักเสบง่ายขึ้น ยิ่ง contact lens ที่มีค่าเอียง เพราะทุกครั้งที่คุณกระพิบตา contact lens จะหมุนออกจากแกนเอียงเสมอ แล้วหมุนกลับที่แกนเดิม
และหลุดในน้ำ เวลาเคลียร์หน้ากากใต้น้ำ โดยเฉพาะคนที่เรียนดำน้ำ ที่ต้องฝึกเคลียร์หน้ากาก contact lens มีปัญหาแน่นอน
2.ใช้ Scuba Mask ที่เป็นเลนส์สายตาสำเร็จรูป หรือแว่นแก้ขัด เหมาะกับการใช้ชั่วคราวเท่านั้น

เลนส์สายตาสั้น myopia ที่มีค่าเป็นลบ

และ Hyperopia หรือสายตายาว เลนส์มีค่าเป็นบวก สำหรับคนที่สายตายาวมาตั้งแต่เด็ก ไม่ใช่สำหรับคนที่สายตายาวตอนอายุ 40 ปี

คนมักสับสน ระหว่าง Hyperopia กับ Presbyopia เพราะภาษาไทยเรียกว่าสายตายาว เหมือนกัน แต่ Hyperopia คือ ค่าสายตาเป็น บวก เวลามองไกล ซึ่งมักจะเป็นมาตั้งแต่เด็ก ส่วน Presbyopia คือ ค่า add บนเลนส์ progressive หรือค่าสายตายาวตามอายุ มักจะเกิดหลังอายุ 40 ปีขึ้นไป ดังนั้นถ้าคุณอายุมากกว่า 40 แล้วมองใกล้ไม่ขัด คุณไม่สามารถใช้เลนส์สำเร็จรูปพวกนี้ได้ เพราะเค้าออกแบบมาให้คนที่สายตายาว เวลามองไกลอย่างเดียว หรือสายตายาวตั้งแต่เด็ก
หลายคนเสียเงินซื้อ แล้วใช้ไม่ได้ เพราะมันเป็นเลนส์ที่ใช้มองไกลอย่างเดียว
คนสายตาปกติ จะอ่านป้ายนี้ในระยะห่าง 6 เมตรได้ถูกต้อง จนถึงขั้นที่ 7 ที่มีการขีดเส้นใต้ไว้ ถ้าไม่ถึงคือสั้น ถ้าเกินคือยาว และถ้ามีค่าสายตาเอียงร่วมด้วย เวลามองป้ายในระยะ 6 เมตร จะเห็นเส้นครึ่งวงกลมด้านบนชัดแค่บางเส้น นั่นแสดงว่า สายตาเอียง
แว่นดำน้ำที่เป็นเลนส์สายตาสำเร็จรูป จะไม่มีเลนส์ที่ตรงกับสายตาเราพอดี มักจะใช้การเพิ่มการลดค่าสายตา

และนี่คือเหตุผล ว่าทำไม จึงเป็นแว่นแก้ขัด หรือเหมาะกับคนที่นานๆใช้ที
เรื่องแรกคือ step ค่าสายตาจะขยับทีละ -1.00 diopter
เลนส์สายตาที่อยู่กับแว่น มักจะไม่ตรงกับค่าสายตาเรา อย่างน้อยควรจะรู้ค่าสายตาตัวเองก่อนจะซื้อแว่นแบบนี้ เพราะเราไม่ควรเดาจากการลองใส่ไปเรื่อยๆ ถ้าจะลองใส่ก็ต้องอ่านป้าย
เรื่องที่สองคือ ค่า pupil distance (เป็นการวัดระยะห่างจุดกึ่งกลางตาดำแต่ละข้าง ถึงจุดกึ่งกลางจมูก หรือ ภาษาร้านแว่นคือค่า PD จะไม่ตรงจุด optical center ของเลนส์แว่นสำเร็จรูป เพราะเลนส์ถูกผลิตมาด้วยการปั๊มขึ้นรูปในสายการผลิตเลนส์ ทุกตัวจะมีการวางจุด OC ที่ตำแหน่งเดียวกัน โดยไม่สนใจว่าคนใส่ จะมีค่า PD เท่าไหร่ ผลคือเกิด prism ในการมองผ่านเลนส์


ผลของการใส่แว่นที่ PD ไม่ตรงกับตาเราคือ มึนหัว คลื่นไส้ อยู่ที่ว่า ค่า PD เหวี่ยงมากเหวี่ยงน้อย


เรื่องที่สาม คือค่าเอียง แว่นสายตาสำเร็จรูปไม่มีค่าเอียงแน่นอน

การแก้คนที่มีค่าเอียงคือ การใช้เลนส์สำหรับสายตาเอียงที่มีลักษณะเป็นทรงกระบอก แก้ เลนส์สายตาสั้นจะใช้เลนส์ที่เป็นเลนส์เว้า มันทำหน้าที่คนละอย่างกัน ไม่สามารถใช้แทนกันได้

คนที่มีค่าสายตาเอียง ร่วมด้วย ก็จะเห็นภาพซ้อน ถ้าไม่ใส่แว่นสายตา ที่มีค่าเอียงด้วย เพื่อแก้ไข ก็จะเห็นภาพซ้อน และเบลอเหมือนเดิม


ดังนั้นคนที่มีค่าสายตาทั้งสั้น และเอียง ต้องเข้าใจว่า ถ้าใส่แว่นสำเร็จรูป ภาพเบลอ ภาพซ้อนยังอยู่ครบ ไม่หายไปไหน เพราะเลนส์สำเร็จรูปไม่สามารถแก้ค่าเอียงได้
เลนส์สำเร็จรูปจึงมีราคาถูก มากๆ เพราะใช้การขึ้นรูปด้วยเครื่องจักร เหมาะกับคนที่นานๆเป็นปี ดำน้ำที ไม่ต้องลงทุนเยอะ เสียก็ทิ้ง

3.การตัดเลนส์สายตาติด mask ดำน้ำ หรือ Custom-made lens มี 2 แบบคือ
- ตัดเลนส์ใส่หน้ากากดำน้ำเลย
- ใช้ตัว spectacles insert ติดหน้ากากดำน้ำ
การตัดเลนส์ใส่ mask แทนที่กระจก temper เป็นการเจียรเลนส์สายตา เพื่ออัดใส่กรอบหน้ากากดำน้ำ ความเสี่ยงอยู่ที่ เราแน่ใจได้อย่างไรว่า ทนแรงบีบอัดในแต่ละชั้นบรรยากาศได้ แรงดันใต้น้ำ ในแต่ละ atmos สามารถทำให้รั่วซึมได้ ด้วยแรงกดอัดมหาศาล ยิ่งถ้าหน้ากากไม่ได้ออกแบบมาเพื่อทำเลนส์สายตา โอกาสที่จะรั่วซึมยิ่งสูง เพราะขนาดเลนส์สำเร็จรูปที่ใช้เปลี่ยนแทนกระจกหน้ากากยังรั่วได้ แล้ว เลนส์ที่ตัดกันเอง เอาไปใส่หน้ากากแทนกระจกจะไหวเหรอครับ ขนาดเลนส์สำเร็จรูปมี QC ตรวจสอบก็ยังมีรั่วเลยครับ แล้วเลนส์สั่งตัดกันเอง จะให้ใครเป็น QC
นอกจากนี้การป้องกันการขูดขีดบนเลนส์ก็ทำได้ยาก เพราะหน้าการมีขนาดใหญ่ที่ต่างจาก แว่นสายตาปกติ ที่เราเก็บใส่กล่องแว่นป้องกันการเป็นรอยได้ สุดท้ายเลนส์สายตาหน้ากากดำน้ำแบบนี้ จะเป็นรอยจนมองอะไรแทบไม่เห็น
การใช้ spectacles insert ติด กระจก scuba mask หรือ snorkeling mask
เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับนักดำน้ำเมื่อเทียบกับ Contact lens, เลนส์สำเร็จรูป และการตัดเลนส์ใส่ mask ดำน้ำ แต่ก็มีข้อจำกัดเรื่อง scuba mask ที่ต้องเป็นเลนส์ชิ้นเดียว เพื่อมีพื้นที่ในการติด ตัว spec insert

ข้อดีคือ
- สามารถเปลี่ยนเลนส์สายตาได้ ตัดเลนส์ค่าสายตาได้ตามค่าจริง ทั้งสั้น บวก เอียง ที่เรียกว่า single lens และ พ่วงด้วยสายตายาวสำหรับนักถ่ายภาพใต้น้ำ ที่เรียกว่า Bifocal lens หรือ เลนส์สายตา 2 ระยะ มองไกล และ มองใกล้
ค่าเอียง ต้องใช้เลนส์สำหรับแก้ค่าเอียง ไม่สามารถ เพื่อค่าสายตาสั้นได้ - สามารถย้ายตัว spectacles insert ไปใช้กับ mask ตัวใหม่ได้ เมื่อ mask ตัวเดิมหมดสภาพ หรือต้องการเปลี่ยน mask
ตัวแว่นถอดออกจาก ตัวยึดได้ - มี อะไหล่ ขายแยกทุกชิ้น ค่าสายตาเปลี่ยน ก็เปลี่ยนเฉพาะเลนส์ กรอบเสียเปลี่ยนกรอบ ตัวยึดเสียก็เปลี่ยนตัวยึด
อะไหล่ spectacles insert
ข้อด้อยคือ ไม่สามารถใช้ได้กับหน้ากากทุกประเภท ใช้ได้เฉพาะหน้ากากที่เป็นเลนส์ชิ้นเดียว และมีพื้นที่ในการติดตัว scuba insert อย่างน้อย 20 มม. จากขอบบนหน้ากาก ถึง จมูก




scuba spec Insert จะเหมือนเราตัดแว่นตา ที่ไม่มีขาเกี่ยวหู แต่ใช้ ตัวดูด 137EBP กับ ตัวยึดที่ใช้กาว silicone 199EB ทำหน้าที่แทนขาแว่น และสามารถถอดเปลี่ยนได้
ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ ความต่างอยู่ที่ตัวยึด ที่เป็นจุ๊บสูญญากาศ กับ ตัวยึดที่ใช้กาว silicone ทั้ง 2 แบบก่อนติดต้องล้างกระจกไม่ให้มีน้ำมัน หรือ แอลกอฮอล์เกาะติดกระจก ด้วยยาสีฟัน หรือ สบู่เหลว บนเรือ เพราะน้ำมันจะถูกเคลือบบนกระจก mask ที่ซื้อมาใหม่ๆ และคนบนเรือ อาจใช้แอลกอฮอล์เช็ดกระจก ฆ่าเชื้อโรค เราจึงต้องล้างก่อนติด
รุ่น #137 EBP เป็นจุ๊บสูญญากาศใช้ พื้นที่ 32 มม โดยประมาณ จากขอบบนของ mask จนถึง ช่องจมูก เหมาะกับการดำผิวน้ำ อย่าง snorkeling
รุ่น #199 EB เป็นตัวยึดที่ใช้กาว silicone ใช้พื้นที่ ประมาณ 18 มม. จากขอบบนของ mask และ ช่องจมูก สำหรับการดำ scuba น้ำลึก

1.Scuba spectacles insert #199 EB ที่ใช้กาว silicone ติดตัวยึด สำหรับติดกระจก scuba mask สามารถถอดตัวเลนส์เข้าออกได้ เหมาะกับคนที่มี Scuba mask เป็นของตัวเอง


2.Scuba Spectacles Insert #137 EBP ที่เป็นจุ๊บสูญญากาศ สามารถพกพาติดตัวได้ เหมือนการพกแว่นสายตา เหมาะกับนักดำน้ำที่ไม่พกอุปกรณ์ดำน้ำ หรือใช้ mask บนเรือ

Scuba Spectacles Insert เมื่อเทียบกับ soft contact lens คือปลอดภัยกว่ามากๆ ไม่ต้องกังวล เรื่องการติดเชื่อ แบคทีเรียในน้ำที่เราไม่รู้ว่าวันนี้จะมี แบคทีเรียในจุดที่ดำมากน้อยขนาดไหน การอักเสบจากแรงกดอากาศใต้น้ำ การลืมตาในน้ำแล้ว contact lens หลุด

และเมื่อเทียบกับ แว่นสายตาดำน้ำ เลนส์สำเร็จรูป คือ ใช้ค่าสายตาที่เราวัดมาจากร้านแว่นได้เลย เป็น true prescription ของบุคคล ไม่ต้องเดาค่าสายตาเหมือนเลนส์สำเร็จรูป


สามารถตัดเลนส์สายตาใส่ได้ตามค่าที่เป็นจริง ไม่ว่าเราจะมีค่าสายตามากขนาดไหน หรือมีทั้งสั้น และเอียง หรือคนที่มีค่าสายตายาวตามอายุร่วมด้วย

การดูแลรักษาตัว spectacles insert หากไม่มีการใช้ดำน้ำเลย ควรแช่น้ำทุกๆ 6 เดือน เพราะ วัสดุ Nylon ออกแบบให้ใช้งานในน้ำ หากไม่สัมผัสกับน้ำเลย จะเกิดการ dehydrate คือน้ำจะระเหยออกจากกรอบแว่น จนอาจทำให้กรอบแว่นกรอบได้
โลกใต้น้ำ กับ โลกบนบก ของคนที่มีค่าสายตา คงไม่ต่างกันมาก

แว่น Free Form Green by Thomas Trauth, Semi Rim
Free Form Green กรอบแว่นไททาเนี่ยม Minimal Concept บานพับไม่ใช้น๊อตสกรู ทำจากวัสดุ Beta-Titanium มีคุณสมบัติ เบากว่าวัสดุอื่นเท่าตัว ยืดหยุ่นกว่า pure titanium ทนการกัดกร่อนจากกรด และ ด่าง เคลือบสีด้วยระบบปะจุไฟฟ้า Vapour Deposition technique



























































